กระบวนการคัดเลือก และประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ

 

เกณฑ์คัดกรองคุณสมบัติเพื่อคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ
แนวทางการคัดกรองเพื่อคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ คะแนนรวม 100 คะแนน ประกอบด้วย
1.ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร (60 คะแนน) โดยพิจารณาคัดกรองจากใบสมัคร อาทิ ประเภทอุตสาหกรรม, พื้นที่, ความพร้อมในการใช้เครื่องมือผลิตภาพและมาตรฐาน, ความพร้อมในการลงทุนปรับปรุงโดยใช้เทคโนโลยี, ความพร้อมของทีมงานที่เข้าร่วมโครงการ (5 คน), ความพร้อมในการร่วมกระบวนการภาคฝึกปฏิบัติ, ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ
คุณสมบัติและเงื่อนไขของการเข้าร่วมโครงการ
1.1 บุคลากรจากภาคอุตสาหกรรม อาทิ
– ผู้จัดการโรงงาน
– ผู้จัดการฝ่ายผลิต ทีมงานฝ่ายผลิต ทีมซ่อมบำรุง และวิศวกร
– ทีมงานผู้รับผิดชอบด้าน Process Improvement
-ทีมงานผู้รับผิดชอบในการปรับปรุงหรือการปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรม 4.0
1.2 อาจารย์มหาวิทยาลัยจากคณะวิศวกรรม วิศวกรรมอุตสาหการ การจัดการอุตสาหกกรรม
1.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม
1.4 ทีมงานสามารถเข้าร่วมโครงการได้ หน่วยงานหรือโรงงานละ 5 ท่าน
1.5 สามารถเข้าร่วมตลอดโครงการทั้งภาคทฤษฏีและภาคฝึกปฏิบัติ รวมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาโครงการ
1.6 หน่วยงานหรือโรงงานต้องสามารถร่วมกระบวนการในภาคฝึกปฏิบัติได้
2. ข้อมูลของทีมผู้เข้าร่วมโครงการขององค์กร (40 คะแนน) อาทิ ตำแหน่ง ประสบการณ์และบทบาทในการนำไปใช้และการขยายผล คัดกรองโดยให้ตอบแบบทอสอบประกอบการพิจารณารวมเป็นภาพรวมรายองค์กร

 

เกณฑ์การประเมินและขึ้นทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
1. เวลาในการเข้าฝึกอบรมภาคทฤษฏี และภาคฝึกปฏิบัติในโรงงาน ไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาทั้งหมด (25 วัน) 100 คะแนน
2. การมีส่วนร่วม พฤติกรรม ช่วงฝึกอบรมภาคทฤษฏี และภาคฝึกปฏิบัติในโรงงาน ประเมินโดยวิทยากรที่ปรึกษา 100 คะแนน
3. ภาคทฤษฎี สอบรวมทั้ง 3 Module รายบุคคล 300 คะแนน
4. ภาคฝึกปฏิบัติ โดยนำเสนอการเข้าฝึกปฏิบัติ และจัดส่งรายงาน แบบรายกลุ่ม 500 คะแนน
รวม 1,000 คะแนน ผู้ที่ผ่านเกณฑ์เพื่อขึ้นทะเบียน ต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 700 คะแนน

 

แนวทางการต่ออายุผู้เชี่ยวชาญ
        รายชื่อผู้เชี่ยวชาญจะถูกบันทึกในฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ โดยแต่ละปีผู้เชี่ยวชาญต้องมีการรายงานเกี่ยวกับการขยายผลในองค์กร หรือขยายผลสู่ภายนอกองค์กร และมีผลลดต้นทุนคุณภาพ เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร ลดต้นทุนบำรุงรักษา ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง ส่งมอบตรงเวลา อย่างใดอย่างหนึ่งในเชิงตัวเลขได้ (ตามตัวชี้วัดผลลัพธ์ต่อเนื่อง 5 ปี) โดยบันทึกในฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ ไม่เกินวันที่ 30 พฤศจิกายน ของแต่ละปี
        กรณีผู้เชี่ยวชาญไม่ได้รายงานการขยายผลภายใน หรือภายนอกองค์กร อย่างน้อย 2 ปี ต่อเนื่องกัน ถือเป็นการขาดการต่ออายุ ซึ่งระบบจะตัดรายชื่อออกจากฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ